วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงเรียน ใฝ่ฝัน เป็นจริง



โรงเรียนที่ใฝ่ฝันเป็นจริง
โรงเรียนอาลาวียะห์ จัดการศึกษา ท่ามกลางชุมชน ในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2498 มีโต๊ะครู ฮัจยีอาลี บิลหะยีอาบูบากา เป็นผู้บุกเบิก ม ชาวบ้านกาสังหนุนเสริมเพื่อให้ชุมชนได้มีแหล่งเรียนรู้ศาสนา
โต๊ะปะดอกา โต๊ะเวาะและห์ ผู้มีจิตวิญญาณที่ว่าจะให้ชุมชนมีศูนย์เรียนรู้ศาสนา มีโต๊ะครูในหมู่บ้าน ได้เชิญโต๊ะครูมาเป็นครูสอนในหมู่บ้าน
10 ปีเปิดสอนปอเนาะ การเข้ามาของหน่วยงานการศึกษาให้จดทะเบียนปอเนาะ เปิด วิชาภาษไทย ในปอเนาะ ขึ้น ในรูปแบบการศึกษาผู้ใหญ่
ปี 2518 เปิด ชั้นประถมปีที่ 2 การศึกษาภาคบังคับ 6 ปี ต้องเปิดเป็นมัธยม ม.ศ 1 ในระยะต่อมา
ปี 2532 เปิดสอนมัธยมปลาย
การศึกษาในปอเนาะ รับปี 2518 ไม่เป็น เด็กจบภาคบังคับ ป.4 เด็กอายุ ไม่แก่มากเท่าไหร่มาเรียนศาสนา ป.5 ในโรงเรียนปอเนาะ 1 ระดับก่อน
เมื่อเปลี่ยนหลักสูตรภาคบังคับ 2521 นักเรียนจบ ป.6 กระบวนการปอเนาะ ทำให้เด็กอายุมากขึ้นมาเรียนอิบตีดาอีย์ จบ ป.6 อายุ 12 ปี ที่มาเข้าปอเนาะ ชั้น 1 อิบตีดาอีย์ จึงอายุมากแล้ว จึงได้หลักการการจัดการศึกษา ทางจิตวิทยา
นักเรียนที่จบ ป.6 จากโรงเรียนรัฐ มาไม่มีพื้นฐานศาสนา ยากลำบาก ต่อการเชื่อมโยงทำให้เด็กมีความพร้อมเรียนวิชาสามัญมากว่า
จะเห็นว่าเด็กมลายูมุสลิมบางคนไม่อยากเรียนศาสนา ไม่ยอมละหมาด เพราะไม่เคยฝึกฝนการปฏิบัติตามหลักการศาสนา ไม่มีพื้นฐานศาสนาที่ดีพอ การเขียนอ่านภาษามลายูไม่ได้มีมาเลย นักเรียนบางคนที่มีการศึกษาตาดีกาในหมู่บ้าน ก็สามารถมีพื้นฐานบ้าง แต่ก็ม่สามารถเปรียบเทียบจบอิบตีดาอีย์ได้
โรงเรียนบางโรงเด็กจบ ป.6 ไม่สามารถเขียนชื่อ ตนเองได้ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ก็มี
ที่ยิ่งกว่านั้น เมื่อเข้า ม.1 นักเรียนบางคนไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเลย เพราะโรงเรียนในหมู่บ้านไม่ได้สอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาอังกฤษไม่มี สอนแต่การงานอาชีพ พื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ดี มีครูบางคนบอกว่าหากเด็กเรียนคาดีการในหมู่บ้านพอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษบ้าง
ส่วนภาษาอาหรับนั้นเด็กไม่สามารถอ่านกุรอานดีพอ เพราะขาดการเอาใจใส่จากพ่อแม่ ซึ่งมั่วแต่ยุ้งประกอบอาชีพส่วนตัว คนมลายูส่วนใหญ่มักปล่อยปละละเลยลูก ไม่ตระหนักการศึกษาของลูก
โรงเรียนที่ใฝ่ฝันสิบปีมาแล้ววันนี้เราได้เห็นเด็กๆได้เรียนรู้สี่ภาษา เด็กจบประถมหก สามารถอ่านภาษาไทยมลายูได้คล่อง มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ อาหรับที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น