วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

รางวัลเล็กๆก็ยังดี กำลังใจสำหรับความพยายามและความตั้งใจ



รางวัลดเล็ก ๆ ก็ยังดี สำหรับคนที่พยายาม

แม้นไม่ใช่ดวงดาว แต่ส่อถึงความตั้งใจของเราผู้บริหารและครู สร้างคนด้วยการศึกษา พัฒนาคนด้วนการศรัทธา

“เราได้ทำการศึกษาเพื่อเด็ก ผลก็ทำให้เด็กได้รับการศึกษาคุณภาพของการเรียนการสอนต้องพัฒนาดีขึ้น”นายมูฮำมีด
เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีพิธีมอบรางวัลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-net) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายนแ 2553 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร
พณ ชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมต.กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวในโอกาสมอบ ให้กับโรงเรียนที่มึผลสัมฤทธ์ทุกสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และท่านได้กล่าวว่า”โรงเรียนเอกชนได้เกิดมานานและได้จัดการศึกษาแบ่งเบาภาระของรัฐบาล”
“ถือว่าเป็นความพยายามของผม ให้สู่ความเป็นจริง การที่จะให้เยาวชนบรรลุเป้าหมายผลสัมฤทธิ์จะถึงเกณฑ์แล้ว เด็กต้องมีใฝ่ดี ใฝ่รู้ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ....... ปัจจุบันการศึกษา การมีความรู้ต้องคู่ความดี เด็กมีผลสัมฤทธิ์ดีด้านการเรียน และต้องมีผลสัมฤทธิ์ด้านอื่นด้วย”
จากนั้นทางโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา แผนกประถม เป็นโรงเรียนหนึ่งในจังหวัดยะลาที่ได้รับรางวัลด้านความก้าวหน้า และมีการพัฒนา ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าผลของเด็กนั้น ขึ้นกับผลการสอนของครู และมาจากผลการจัดการบริหารของฝ่ายบริหาร
นายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบากาประธานมูลนิธิอาบูบักร์ ผู้รับใบอนุญาตกล่าวว่า “การได้รับรางวัล .เป็นตัวชี้วัดว่า โรงเรียนได้สร้างความพยายามให้การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากหลายเท่าสำหรับเด็กในชนบทในพื้นที่สามจังหวัดที่มีวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่แตกต่างกันกับเด็กส่วนใหญ่ของประเทศ .”
ในการรับรางวัลในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของโรงเรียน ทางโรงเรียนได้รับสำหรับคะแนนที่มีการพัฒนาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการวัดผลที่ผ่านมา ซึ่งโรงเรียนอาลาวียะห์ได้จัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยมตัน มัธยมปลาย เป็นโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงของสถานการณ์ปัญหาสามจังหวัด ตั้งอยู่หมู่บ้านกาสัง ตำบลตาเนาะปูตะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา การมารับรางวัลในครั้งนี่มีโรงเรียนเอกชนจากจัวหวัดยะลา จำนวน 8-9 โรงเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นรางวัลระดับ ประถม และมัธยมต้น ส่วนมัธยมปลายนั้นสำหรับปีนี้ยังไม่มี
“ การใช้คะแนนโอเนทมาเป็นเกณฑ์ก็ดี สำหรับเราได้รู้และมีการพัฒนาเพียงใด สามารถเทียบเท่ากับการจัดการศึกษาทั้งประเทศ ซึ่งทางโรงเรียนเองก็ได้ศึกษาการจัดการเรียนการสอนสำหรับมลายูมุสลิมเหล่านี้ จะพัฒนาอย่างไร”
“ทางโรงเรียนคณะครูต้องทำงานหนัก เพราะโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยาไม่เพี่ยงจัดการศึกษาเพื่อผ่านเกณพ์วัดผลของชาติเท่านั้น แต่จะต้องคำนึ่งต้องการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมความเป็นนานาชาติ ความเป็นพลโลกที่ดี และจะต้องผ่านเกณฑ์การรับรองการจัดคุณภาพการศึกษาอิสลมที่อัลลอฮ มีบันทึกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน อันนี้สำคัญ “นามมูฮำมัดกล่าวในที่สุด

รางวัลสำหรับสร้างคน


โรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา แผนกประถมได้รับรางวัลการพัฒนาการศึกษาคะแนน o-net ชั้น ป.6
“เราได้ทำการศึกษาเพื่อเด็ก ผลก็ทำให้เด็กได้รับการศึกษาคุณภาพของการเรียนการสอนต้องพัฒนาดีขึ้น”นายมูฮำมีด
เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีพิธีมอบรางวัลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-net) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายนแ 2553 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร
พณ ชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมต.กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวในโอกาสมอบ ให้กับโรงเรียนที่มึผลสัมฤทธ์ทุกสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และท่านได้กล่าวว่า”โรงเรียนเอกชนได้เกิดมานานและได้จัดการศึกษาแบ่งเบาภาระของรัฐบาล”
“ถือว่าเป็นความพยายามของผม ให้สู่ความเป็นจริง การที่จะให้เยาวชนบรรลุเป้าหมายผลสัมฤทธิ์จะถึงเกณฑ์แล้ว เด็กต้องมีใฝ่ดี ใฝ่รู้ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ....... ปัจจุบันการศึกษา การมีความรู้ต้องคู่ความดี เด็กมีผลสัมฤทธิ์ดีด้านการเรียน และต้องมีผลสัมฤทธิ์ด้านอื่นด้วย”
จากนั้นทางโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา แผนกประถม เป็นโรงเรียนหนึ่งในจังหวัดยะลาที่ได้รับรางวัลด้านความก้าวหน้า และมีการพัฒนา ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าผลของเด็กนั้น ขึ้นกับผลการสอนของครู และมาจากผลการจัดการบริหารของฝ่ายบริหาร
นายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบากาประธานมูลนิธิอาบูบักร์ ผู้รับใบอนุญาตกล่าวว่า “การได้รับรางวัล .เป็นตัวชี้วัดว่า โรงเรียนได้สร้างความพยายามให้การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากหลายเท่าสำหรับเด็กในชนบทในพื้นที่สามจังหวัดที่มีวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่แตกต่างกันกับเด็กส่วนใหญ่ของประเทศ .”
ในการรับรางวัลในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของโรงเรียน ทางโรงเรียนได้รับสำหรับคะแนนที่มีการพัฒนาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการวัดผลที่ผ่านมา ซึ่งโรงเรียนอาลาวียะห์ได้จัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยมตัน มัธยมปลาย เป็นโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงของสถานการณ์ปัญหาสามจังหวัด ตั้งอยู่หมู่บ้านกาสัง ตำบลตาเนาะปูตะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา การมารับรางวัลในครั้งนี่มีโรงเรียนเอกชนจากจัวหวัดยะลา จำนวน 8-9 โรงเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นรางวัลระดับ ประถม และมัธยมต้น ส่วนมัธยมปลายนั้นสำหรับปีนี้ยังไม่มี
“ การใช้คะแนนโอเนทมาเป็นเกณฑ์ก็ดี สำหรับเราได้รู้และมีการพัฒนาเพียงใด สามารถเทียบเท่ากับการจัดการศึกษาทั้งประเทศ ซึ่งทางโรงเรียนเองก็ได้ศึกษาการจัดการเรียนการสอนสำหรับมลายูมุสลิมเหล่านี้ จะพัฒนาอย่างไร”
“ทางโรงเรียนคณะครูต้องทำงานหนัก เพราะโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยาไม่เพี่ยงจัดการศึกษาเพื่อผ่านเกณพ์วัดผลของชาติเท่านั้น แต่จะต้องคำนึ่งต้องการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมความเป็นนานาชาติ ความเป็นพลโลกที่ดี และจะต้องผ่านเกณฑ์การรับรองการจัดคุณภาพการศึกษาอิสลมที่อัลลอฮ มีบันทึกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน อันนี้สำคัญ “นามมูฮำมัดกล่าวในที่สุด

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อิบตีดาอีย์คือประถม มุตาวัชซีต คือมัธยม

อิบตีดาอีย์คือประถม
มุตาวัชซีต คือมัธยม


ปัญหาการศึกษาที่รัฐเองมักจะมองว่า การศึกษาของคนมลายูมุสลิมปัญหา เป็นภาพลักษณ์ที่สังคมไทยในระบบศึกษา พยายามมองว่าการไม่รู้ภาษาไทย คือการไม่ได้รับการศึกษา หากเรียนศาสนาจัดเป็นคนไม่มีความรู้
ทั้งๆที่ความรู้มิใช่จำกัดเพี่ยงภาษาไทย ภาษาอื่นก็สามารถมีความรู้ได้ โดนเฉพาะภาษามลายูเป็นภาษาอันดับ 4 ของโลก รองจากภาษาสเปญ และมีชุมชนประเทศ 23 ประเทศที่ใช่ภาษามลายู 400 ล้านคน
สำหรับการศึกษาไทยนั้นเราเองไม่ได้เห็น ได้ยินประกาศเป็นทางการ การศึกษาบอกถึงความสำเร็จ นอกจากมีเด็กไทยในชุมชนเมืองโรงเรียนดังไปสอบแข่งได้รางวัลตีแผ่ข่าวมโหฬารทั้งๆที่เป็นเพี่ยงหยิกเดี่ยว การศึกษา ระดับ ป.3 ทั้งประเทศอ่านหนังสือไม่ได้ ......
การศึกษานั้น...
1. คือการคิดวิเคราะห์ของคนไทยยังไม่เป็น เพราะมีการจัดการเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่า....
2 คนไทยใช้อยู่ภายใต้ระบบ การศึกษาไทยเพื่อเป็นมนุษย์เงินดือน และเพื่อสนองการใช้โรงงาน การใช้นายทุน ไม่เคยคิดให้การศึกษาเพื่อสร้างคนสร้างงาน..........3 มองว่าการศึกษาคือการเรียนรู้ การคิด อ่าน วิเคราะห์เป็น
3.หากรู้แต่ภาษาไทย ก็คิดแบบไทยๆ ไม่กล้าคิดนอกกรอบกลายเป็นปัญหาจิตนิรันดร์
การก่อเกิดโรงเรียนอนุบาลประถมอิสลามนี้ บริบทของการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนไทยแล้ว ยังเพื่อเป็นพลโลกมุสลิมที่ดี รัฐก็ดี มักจะห่วงก้าง โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ พยายามขวางกั้น การจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา การปฎิบัติไม่ได้สนองรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้เอกชนจัดการศึกษา ถึงอย่างไรก๊ตามเราต้องการสร้างคน บริหารคนเพื่ออนาคต สร้างสังคมแทนการเรียนรู้ พึ่งตนเอง ต้องการคนใจอาสาใจอาสา .........
4 เป็นบริบทการศึกษาของชนมลายูมุสลิมที่มีภาษามลายูเป็นภาษาแม่........สำหรับคนใน 5จังหวัดมุสลิม สำหรับเยาวชนของเราในอนาคตภายใต้ปรัชญาการจัดการศึกษาอิสลาม “สร้างคนด้วยการศึกษา พัฒนาคนด้วยการศรัทธา” เป็นของขวัญที่เรานำมาใช้ในอุดมคติของเรา
5.การศึกษาในระดับประถม เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับเด็ก มีพื้นฐานที่ดีให้กับเด็ก ปัญหา..........
6 ภายใต้ที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐที่มองการศึกษาว่ามีปัญหา เนื่องจากเด็กมลายูมุสลิม มีภาษาของตนเอง และไปเรียนรู้ภาษาอื่น เหมือนเอาคนไทยไปเรียนภาษาอังกฤษ กับฝรั่ง แน่นอนสู้เขาไม่ได้อยู่แล้ว
เฉกเช่นเดียวกัน เด็กมลายูมุสลิม .......8 ก็ดี ชี้ว่ามีภาษามลายู แน่นอนเด็กชายมาหะมะ ไปเรียนภาษาไทยสู้กับเด็กชายเอกชัยไม่ได้อยู่แล้ว หรือจะเอาเอกชัยมาเรียนภาษามลายูกับเด็กชายมาหะมะแน่นอนสู้เด็กชายมาหะมะไม่ได้เช่นกัน
ฐานการศึกษาที่ทำไม่ได้จากโรงเรียนของรัฐในชนบทในหลักสูตรมีกำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษ แต่ไม่ได้สอนแบบ งูๆ ปลาๆ เพราะครูภาษาอังกฤษไม่มีปัญหามากเมื่อเด็กเรียนต่อมัธยม เข้า ม.1
หรือ ภาษาไทยของเด็กมลายู บางคนเขียนชื่อตนเองก็ไม่ได้ก็มีปัญหา ซึ่งจะอ่อนด้านการเรียนมาก โดยเฉพาะเด็กในชนบทเมื่อเข้ามาเรียนม.1 ในโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา หรือโรงเรียนเอกชนทั่วไปทำให้หน่วยงานการศึกษาของรัฐมองโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ไม่ มีคุณภาพ
โรงเรียนเอกชนปอเนาะเองผู้บริหารหรือโต๊ะครู สร้างโรงเรียนเพื่อบานของศาสนาอิสลาม ต้องการเน้นสอนศาสนา ภาษาอาหรับ มลายู ต้องมารับผิดชอบภาษาไทย
ฐานการศึกษาของศาสนาเอง เด็กบางคนจบ ป.6 มา อ่านอัลกุรอานไม่ได้ละหมาดไม่เป็น ไม่ยอมเข้ามัสยิด ขาดการอบรมจริยธรรมศาสนา...........

9 ทำให้ต้องมารับผิดชอบเด็กเหล่านี้
การเรียนการศาสนามาเข้าชั้น 1 หรือ ป.1 อิตีดาอีย์ เด็กอายุ 12-13 ปี จบ
ป.6 ต้องมาเรียนศาสนา ภาษามลายู ภาอาหรับ สะกดคำใหม่ เพราะฐานของศาสนาไม่มี
หลักจิตวิทยา การ พัฒนาด้านวัย ร่างกายของเด็กไม่สอดคล้องเด็กมัธยม หรือ ม.1 ต้องมาเรียน ป.1 ของวิชาศาสนา

มิติใหม่การจัดการอิสสลาม


อิบตีดาอีย์ คือ ประถม
มิติใหม่การจัดการอิสสลาม



การจัดการศึกษาในหลักสูตรอิสลามศึกษามีผู้รู้ในวงการศึกษาจำนวนมาก ที่ย่อมให้ประสบการณ์การจัดการศึกษาในแนวทางศาสนาถูกทำลายวิญญาณของศาสนาอิสลาม ปล่อยปละละเลยโดยไม่ได้รับการแก้ไข เป็นปัญหาสำหรับชนมลายูมุสลิม
ดั่งจะเห็นความไม่สมดุลของระดับการศึกษาที่กล่าวมานั้น นักเรียนที่จบ ป.6....................ในกระบวนการจัดการศึกษาของ........มลายูมุสลิม
ปี 2543 เปิดสอนระดับประถมใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น 3ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หรือ อิบตีดาอีย์ 1- อิบตีดาอีย์ 3 ต้องมาเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ปีที่ 5 ปีที่6 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรอิสลาม 2540 ทางโรงเรียน........ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปี2546 คลอดหลักสูตรอิสลามศึกษา 2546 มีระบบ 6-3-3 เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อ ปี 2546 ได้นำหลักสูตรอิสลามศึกษามาวิเคราะห์จัดทำแบบเรียนเพื่อให้สอดคล้องแต่ละช่วงชั้น และสามารถเชื่อมโยง นักเรียนที่เรียนหลักสูตรนี้ในระดับ มูตาวัชซีเตาะห์ หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้แล้ว.......... เดือนเมษา 2547 ได้จัดทำหนังสือแบบเรียนได้ช่วงชั้นสำหรับนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 1-6 หลักสูตรอิสลามศึกษาเป็นวิชาศาสนา ที่ประกอบ อัลกุรอาน , ตัฟซีร ,อากีดะห์, ฮาดิส ,ฟิกช์, ภาษามลายู ,ภาษาอาหรับ, และซีเราะห์ เป็นต้น
มิติให้การจัดการศึกษาแนวทางนี้ สำหรับนักเรียน 1 คน สามารถเรียน 2 หลักสูตร จบแล้วได้ประกาศนียบัตร 2 ใบ และนักเรียนสามารถมีพื้นฐานด้านภาษา 4 ภาษา คือ หลักสูตรแกนกลางต้องเรียน 2 ภาษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสำหรับหลักสูตรอิสลามนั้น ต้องเรียน คือภาษามลายู และภาษาอาหรับในการศึกษาของรัฐ เป็น ปอเนาะจัดการศึกษาระดับประถมได้ หรือ? แน่นอน เราเป็นโรงเรียน เอกชน เราเองได้ตระหนักอยู่เสมอว่ากลัวเด็กอ่านไม่ได้ แต่ตลอด เวลาจัดการ เรียนการสอน 10 ำมาสอนควบคู่ หลักสูตรสามัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการนำหลักจิตวิทยา การศึกษาอย่างร้ายแรปีผ่านมาหากเข้าประกวดแข่งขันทักษะภาษาไทย เราเองก็ไม่ด้อยกว่าใคร สามารถดูได้จากผลการประกวดระดับกลุ่ม ระดับจังหวัด


ส่วนภาษามลายูนั้น เป็นภาษาที่ต้องทำสำหรับโรงเรียนเอกชนศาสนา เด็กจบไปแล้วชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 นอกจากจะอ่านภาษาไทยได้คล่องแล้ว เด็กจะต้องอ่านภาษามลายูได้คล่องด้วย



อิบตีดาอีย์ประถมไม่ใช่มัธยม


อิบตีดาอีย์ประถมไม่ใช่มัธยม

ชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดระบบการศึกษาเดิมมีศาสนาปอเนาะเป็นสูนย์เรียนรู้ ปัจจุบันนี้ก็มีหลักสูตรเกิดขึ้น และมีหลักสูตรอิสลามศีกษา การจัดการเรียนเดิมมีกีตาบและมีระบบชั้นเรียน ไม่มีวิชาที่ระบุจำนวนชั่วโมงเรียน จำนวนเกณฑ์การผ่าน ไม่มีระดับชั้นเรียน โต๊ะครูบางคนไม่เห็นด้วยระบบโรงเรียน โดยเฉพาะหลักสูตรยังแยกไม่ออก ดังจะเห็นได้ว่า โรงเรียน เอกชนสอนศาสนาจำนวนมากไม่ได้สนใจหลักสูตร มองการจัดการศึกษาอิสลามไม่ได้นึกถึงวัย หรือจิตวิทยา การเรียนรู้ของเด็ก
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม รองรับเด็กจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนรัฐบาล ซ้ำเด็กเหล่านี้ไม่มี พื้นฐาน ความรู้ ด้านอิสลามศึกษา และมีพ่อแม่จัดการเรียนการสอนที่บ้าน มัสยิด ตาดีกา
เด็กเหล่านี้เมื่อเข้าเรียน มัธยมศึกษาที่ 1 กลายเป็นปัญหาการจัดการศึกษา เพราะต้องมานั่ง เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับอิบตีดาอีย์ ตั้งแต่ ที่มีอายุ 12-13 ปี แล้ว ซึ่งเป็นวัยที่จะต้องเรียนระดับมัธยม
หลักสูตรอิสลาม ระดับอิบตีดาอีย์ นำมาสอนควบคู่ หลักสูตรสามัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถ้าพูดถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นการนำใช้ผิดหลักจิตวิทยา การศึกษาอย่างร้ายแรง เด็กเหล่านี้มักจะเกิดความเบื่อหน่าย ต่อวิชาวิชาศาสนาเพราะต้องมาเรียน สะกดคำภาษามลายู ภาษาอาหรับ ในขณะที่ภาษาไทย ได้เรียนรู้มาแล้ว ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6 เป็นเวลา 6 ปี ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สนใจวิชาศาสนา และสนใจจะเรียนวิชาสามัญมากกว่า
ปัญหาเหล่านี้ เกิดกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาแก้ไขๆไม่ได้ เด็กมาเรียนไม่มีพื้นฐาน บางคนมาไม่เหมือนกัน มองไม่เห็นแนวทางแก้ไข บางครั้งแก้ไขปลายเหตุ ตั้งแต่มี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา และมาถึงวันนี้ในระดับโรงเรียนก็แก้ไม่ตก ปี 2535 นำหลักสูตรบูรณาการอิสลามศึกษา บางโรงเรียนประสบปัญหามาก เด็กไร้ทิศทางเพราะพื้นฐานศาสนาไม่มี

ปี 2540 – 2542 ทางคณะกรรมการมูลนิธิอาบูบักร์ ได้จัดกระบวนการปัญหาแนวทางมี......... เราจะต้องแก้ไข ถึงเวลาแล้วนี้ จำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเปิดระดับประถม ในโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา

ประถมอิสลามคืออิบตีดาอีย์


อิสลามพื้นฐาน
อิบตีดาอีย์ คือ พื้นการศึกษาอิสลามอิสลามเป็นการดำเนินชีวิต ที่ควบคลุมการศึกษา คือชีวิต

สังคมมลายูมุสลิมในชุมชนได้จัดระบบการศึกษาอิสลามเป็นฐานตั้งแต่อิสลามเข้ามาครั้งแรก”โดยมีมัสยิดหรือบาลาเซาะห์ เป็นศูนย์เรียนรู้นับมาตั้งแต่ 300 – 400 ปี มาแล้ว

การเข้ามา.....โรงเรียนในประเทศไทยมา 100 ปีนี้ ทำให้การศึกษาของไทย ที่เดิมมีวัด เป็นฐานของศาสนา เป็นที่เรียนรู้ก็ต้องยกโรงเรียนออกจากวัดโรงเรียนที่หลังวัดที่หน้า
การจัดการศึกษาปอเนาะ เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนนั้น ได้มีมา ควบคู่ชุมชน มุสลิมมานานนับเป็น 100 ปี
ในครั้งแรกการเข้ามาระบบการศึกษาที่ใช้ระบบโรงเรียนเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในชุมชน ที่มีโต๊ะครู มีปอเนาะ มีบาลาเซาะห์ เป็นศูนย์เรียนรู้ ของชุมชน เพื่อการจดทะเบียน ขั้นการศึกษาของชุมชนมลายู มา.......รับระบบโรงเรียนและมรการจัด การเรียนการสอน ขึ้น และระบบการเรียนระยะเริ่มแรก เรียกว่าอิบตีดาอีย์ ในระดับกลางก็มี มตวัธซิด และช่วงปลายเรียกว่าซานาวีย์
ด้วยระบบโรงเรียนได้มาจัดระบบการศึกษาให้เกิดหลักสูตรการเรียนการสอนขึ้น

จากเดิมการจัดการศึกษา ของประเทศไทยได้มีระบบหลักสูตรใช้แต่หนังสือ กีตตับ เด็กที่เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาล ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6 ไม่ได้เรียนศาสนา เป็นปัญหาของการศึกษาชุมชนมลายูมุสลิมในภาคใต้เป็นอย่างมาก
วันนี้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับประถมสำหรับวิชาศาสนา จากเดิมเด็กมุสลิมได้อยูเปล่า ไม่ได้เรียนศาสนา ในวันนี้ ประถมอาลาวียะห์ ได้รวมกันนำเสนอมิติใหม่การศึกษา ระดับประถมเรียนควบคู่อิบตีดาอีย์

โรงเรียน ใฝ่ฝัน เป็นจริง



โรงเรียนที่ใฝ่ฝันเป็นจริง
โรงเรียนอาลาวียะห์ จัดการศึกษา ท่ามกลางชุมชน ในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2498 มีโต๊ะครู ฮัจยีอาลี บิลหะยีอาบูบากา เป็นผู้บุกเบิก ม ชาวบ้านกาสังหนุนเสริมเพื่อให้ชุมชนได้มีแหล่งเรียนรู้ศาสนา
โต๊ะปะดอกา โต๊ะเวาะและห์ ผู้มีจิตวิญญาณที่ว่าจะให้ชุมชนมีศูนย์เรียนรู้ศาสนา มีโต๊ะครูในหมู่บ้าน ได้เชิญโต๊ะครูมาเป็นครูสอนในหมู่บ้าน
10 ปีเปิดสอนปอเนาะ การเข้ามาของหน่วยงานการศึกษาให้จดทะเบียนปอเนาะ เปิด วิชาภาษไทย ในปอเนาะ ขึ้น ในรูปแบบการศึกษาผู้ใหญ่
ปี 2518 เปิด ชั้นประถมปีที่ 2 การศึกษาภาคบังคับ 6 ปี ต้องเปิดเป็นมัธยม ม.ศ 1 ในระยะต่อมา
ปี 2532 เปิดสอนมัธยมปลาย
การศึกษาในปอเนาะ รับปี 2518 ไม่เป็น เด็กจบภาคบังคับ ป.4 เด็กอายุ ไม่แก่มากเท่าไหร่มาเรียนศาสนา ป.5 ในโรงเรียนปอเนาะ 1 ระดับก่อน
เมื่อเปลี่ยนหลักสูตรภาคบังคับ 2521 นักเรียนจบ ป.6 กระบวนการปอเนาะ ทำให้เด็กอายุมากขึ้นมาเรียนอิบตีดาอีย์ จบ ป.6 อายุ 12 ปี ที่มาเข้าปอเนาะ ชั้น 1 อิบตีดาอีย์ จึงอายุมากแล้ว จึงได้หลักการการจัดการศึกษา ทางจิตวิทยา
นักเรียนที่จบ ป.6 จากโรงเรียนรัฐ มาไม่มีพื้นฐานศาสนา ยากลำบาก ต่อการเชื่อมโยงทำให้เด็กมีความพร้อมเรียนวิชาสามัญมากว่า
จะเห็นว่าเด็กมลายูมุสลิมบางคนไม่อยากเรียนศาสนา ไม่ยอมละหมาด เพราะไม่เคยฝึกฝนการปฏิบัติตามหลักการศาสนา ไม่มีพื้นฐานศาสนาที่ดีพอ การเขียนอ่านภาษามลายูไม่ได้มีมาเลย นักเรียนบางคนที่มีการศึกษาตาดีกาในหมู่บ้าน ก็สามารถมีพื้นฐานบ้าง แต่ก็ม่สามารถเปรียบเทียบจบอิบตีดาอีย์ได้
โรงเรียนบางโรงเด็กจบ ป.6 ไม่สามารถเขียนชื่อ ตนเองได้ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ก็มี
ที่ยิ่งกว่านั้น เมื่อเข้า ม.1 นักเรียนบางคนไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเลย เพราะโรงเรียนในหมู่บ้านไม่ได้สอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาอังกฤษไม่มี สอนแต่การงานอาชีพ พื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ดี มีครูบางคนบอกว่าหากเด็กเรียนคาดีการในหมู่บ้านพอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษบ้าง
ส่วนภาษาอาหรับนั้นเด็กไม่สามารถอ่านกุรอานดีพอ เพราะขาดการเอาใจใส่จากพ่อแม่ ซึ่งมั่วแต่ยุ้งประกอบอาชีพส่วนตัว คนมลายูส่วนใหญ่มักปล่อยปละละเลยลูก ไม่ตระหนักการศึกษาของลูก
โรงเรียนที่ใฝ่ฝันสิบปีมาแล้ววันนี้เราได้เห็นเด็กๆได้เรียนรู้สี่ภาษา เด็กจบประถมหก สามารถอ่านภาษาไทยมลายูได้คล่อง มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ อาหรับที่ดี

การศึกษา ลูก และชีวิต


เพื่อลูกและชีวิตที่ดี

การจัดการศึกษาก็นานทัศนะ แม้คนจัดทำโรงเรียนมองไปคนละมุม โรงเรียนมุสลิม จะสร้างนักวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่อนุบาลแก่ก็มีเพื่อรองรับ โลกวิทยาศาสตร์ในอนาคต
การสร้างโรงเรียน บ้างคนคิดว่าง่าย เพราะเน้นๆได้เงินอุดหนุน แต่ถ้าว่า เงินอุดหนุนรัฐบาลแน่นอนโรงเรียนประถมอาลาวียะห์ไปได้ดีกว่านี้
ลูกเติบโตทุกวัน แน่นอนจะต้องมีโรงเรียนสำหรับลูก มีความคิดของคนบางคนจะเปิดโรงเรียนเปิดทำไม่โรงเรียนรัฐมีแล้วโรงเรียนที่สอนแบบอุมมี อาบีมีอยู่รำไป เยอะมาก ทุกหมู่บ้าน แต่เท่านเห็นการศึกษาของไทยล้มเหลว เพราะเน้นการแข่งขันและต้องการป้อนคนเข้าโรงงาน แต่การจัดการศึกษาของเราเป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตโลกนี้โลกหน้า โลกนี้ต้องได้สนองของท้องถิ่นความสำเร็จพัฒนาเพื่อความเข็มแข็งของมนุษย์ ซึ่งการจัดการศึกษาของรัฐไม่ได้สนองใดๆต่อมลายูมุสลิม แม้มีการสอนอิสลามศึกษาบ้างเพื่อเอาใจผักชีโรยหน้า และหวังเพื่อไม่ให้เพื่อนมาเผ่าโรงเรียนเท่านั้น แต่เราทำโรงเรียนเพื่อการศึกษาของลูกหลาน มุสลิมเพื่อได้รับความรู้สร้างคนด้วยการศึกษา และศรัทธา
โลกของการศึกษาสำหรับ มิใช่หวังเพื่อให้วิชาภาษาไทยอย่างเดียว ชนมลายูมุสลิมอย่างเรา ลูกของเราจะต้องรู้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษามลายู ภาษาแม่ จะต้องให้ลูกๆได้รับการเรียนรู้อย่าถูกต้อง
เพื่อลูกที่รักของเรานั้น ชีวิตจะต้องวางเป้าว่า อิสลาม พระเจ้า วันสินโลก ลูกๆจะต้องเรียนรู้ ไม่ใช่ไม่รู้แต่ภาษาไทยอย่างเดียว
ทีไหน... โรงเรียนอยู่ที่ไหน ลูกเติบโตขึ้นทุกวัน
ลูกคนแรก ได้เข้าเรียนในโรงเรียน ใกล้บ้าน เป็น.โรงเรียนอนุบาลแนวทางการอบรม จริยธรรม คุณธรรม ด้านสังคม อิสลาม นับว่าใช่ได้ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
เมื่อเข้าประถมบริบทของโรงเรียนประถมอิสลามเราทุกคนก็ยอมรับ แต่โรงเรียนแบ่งไม่ได้แสวงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมลายูท้องถิ่น และไม่ได้ให้ความสำคัญต่อหลักสูตรอิสลามศึกษา
ภาษาอาหรับ บริบทมาจากภาษาอาหรับเป็นภาษาของชาวสวรรค์ จำเป็นจะต้องเรียนรู้เพื่อให้มีพื้นฐานความเข้าใจในความรู้ อัลกุรอาน อย่างเจาะลึก
ภาษาอังกฤษก็จำเป็นเพราะเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาและสากล
พื้นฐานของการศึกษา เพื่อให้เป็นลูกที่ซอและห์ ภายใต้บรรยกาศ วัฒนธรรม จริยธรรมอันงดงามของอิสลาม ที่มีครูนิเทศพร้อมด้วยอุดมการณ์อิสลาม โรงเรียนมีอาคาร เพียบพร้อม ด้วยวัสดุอุปกรณ์ เป็นความใฝ่ฝันที่จะให้ลูกๆ นำไปอยู่ในนั้น

Sekolah untok anakเพื่อลูก


เพื่อลูก


ชีวิตของลูกมีได้มีครอบครัว แต่งงานขึ้นมาแน่นอนจะต้องมีลูก ลูกซอละห์ ก่อนจะมาเป็นลูก พ่อหรือ อาบี แม่หรืออุมมี จะต้องมีแนวคิดที่ซอและห์ด้วย
ผู้ที่จะเป็นแม่ของลูก มิใช่บริบทของความรักทีมีต่อกัน แต่จะต้องมีศาสนาอิสลามอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
เรามีแบบฉบับของศาสนามีบรรดา นบี ที่ระบุในอัลกุรอาน เป็นแบบอย่างที่เราจะต้องเรียนรู้ ศึกษา แล้วนำมาปฏิบัติ
การถือกำเนิดลูก ออกมา มิใช่ เป็นภารกิจที่มีเพียงแค่นั้น แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการให้ภารกิจของอัลลอฮ ที่มีต่อสถาบันครอบครัว
ลูกจะต้องเรียน ในอก อกพ่อแม่ให้การเรียนรู้ที่บ้าน จะต้องผ่านก้างไปที่โรงเรียน โรงเรียนไหนเหล่าที่จะอบรมบ่มลูกๆของเรา
เป็นที่เข้าใจในทัศนะอิสลามนั้น ลูกเป็นอมานะห์ของอัลลอฮ พ่อแม่จะต้องรับผิดชอบดูแลการเลี้ยงดูนอกจากจะให้การเลี้ยงดูด้วยความรัก ยังจะต้องให้การศึกษาโดยการเรียนรู้ด้านฟัรดูอินหรือหลักการในศาสนาเป็นกฎข้อบังคับ และการเรียนวัฒนธรรม ภาษาศาสนาของตนเอง มิใช่รู้ภาษาไทยอย่างเดียว ซึ่งเป็นภาษาของชาติก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ให้ดีในฐานะเป็นประชากร
ในขณะเดียวกันภาษามลายูซึ่งเป็นภาษาแม่ของคนในสามจังหวัดก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้ในโลกมลายู นับเป็นคุณค่ามหาศาล ที่เรามีภาษานี้ที่คนใช้จำนวนมากเป็นอันดับสีของโลก
ความใฝ่ฝันที่จะให้ลูกได้เรียนโรงเรียนดีๆตามความฝันของพ่อแม่เป็นสิ่งที่ลำบาก นับเป็นแรงดลใจที่เราจำเป็นจะต้องมีโรงเรียนของตนเองที่เราเองฝันไว้ สามารถสร้างประชากรในอนาคตอย่างมีคุณภาพ

10 ปีประถมอาลาวียะห์


10 ปีประถมอาลาวียะห์
หนึ่งนวัฒกรรมการศึกษาท้องถิ่น

บทนำ

นับว่ากระบวนการจัดการศึกษาได้ดำเนินการมานาน และจะต้องก้าวขับเคลื่อนต่อไป เพื่อสร้างอนาคตของลูกหลาน ชุมชนมุสลิม ที่พ่อแม่แสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม กับวิถีชีวิตและบนฐานแห่งการศึกษาที่นำพาชีวิตมิให้เพียงเพื่อบนโลกนี้เท่านั้น
โลกการศึกษาอิสลาม จะต้องทว่า ในข่าวการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สามารที่จะได้รับผ่านการวัดผลประเมินผล ชีวิตอันนิจนิรันดร์ แห้ปรโลก โลกหน้าแห่งความยังยืน
การแสวงหา ดิ้นร้น เป็นวิวัฒนาการ ของการทำงานบนกระบวนทัศน์อิสลามแนวทางการจัดการศึกษาที่ดีบริบทของประชาชาติ (อนุมัติ) ที่เป็นกุดวาฮาซานะห์


วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

“ประเทศบางประเทศยังมีประเทศหรือรัฐปกครองตนเองภายในประเทศมากมาย โครงสร้างยัดเยียด สนองระบบราชการ ประชาชนไม่ได้อะไร


“ประเทศบางประเทศยังมีประเทศหรือรัฐปกครองตนเองภายในประเทศมากมาย โครงสร้างยัดเยียด สนองระบบราชการ ประชาชนไม่ได้อะไร โครงสร้างแบบอื่นไม่มีอีกแล้วหรือ” ผู้นำเสนอท่านหนึ่งกล่าวในงาน

สัมมนาฟังความคิดเห็นต่อนโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดมลายูมุสลิมในภาคใต้ของไทย
ปัตตานี – คณะกรรมการพัฒนาการเมืองฯ จัดเสวนาเรื่อง “ประชาชนได้อะไรจาก พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดภาคใต้” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และสร้างทัศนคติด้านการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม วันนี้ (6 ก.พ.) ที่ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะกรรมการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน และ คณะกรรมาธิการกิจการเด็กเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับพันธมิตรเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรง แสวงสันติภาพชายแดนภาคใต้ ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดภาคใต้ ประชาชนได้รับประโยชน์อะไรและได้มีเอกสารประกอบกาสัมมนาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร เป็นเอกสารประกอบพิจารณา นางสาวธนวดี ท่าจีน ผู้อำนวยการเพื่อนหญิง เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดภาคใต้ โดยมีองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้แทนเครือข่ายต่าง และ ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วยจำนวน 300 คน คณะกรรมการจึงได้จัดสัมมนา เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดภาคใต้ ประชาชนได้รับประโยชน์อะไร เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และเพื่อสร้างทัศนคติด้านการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม อันจะทำให้การพัฒนาการเมืองของประเทศได้รับการแก้ไขให้เป็นไปโดยมีระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เข้มแข้งและมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า”การบริหารประเทศที่มีกลุ่มเผ่าพันธ์ภายในประเทศก็มีการสร้างประเทศเล็กภายในประเทศใหญ่ บริหารปกครอง ซึ่งคุณพร้อมสามารถจะทำได้ คุณอย่าดิดว่ามาเลเซียจะรับรัฐปัตตานี เพราะพวกคุณมีปัญหามากมาย” จากนั้นมีนางรัชฏาภรณ์ แก้วสนิท กรรมาธิการ/สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ได้พูดถึงสตรี นายอฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระกล่ วว่า”การมีส่วนของประชาชนเข้าร่วมทุกขั้นตอน ไม่ใช่นำโครงสร้างที่ทางราชการสร้างเสร็จแล้วให้ประชาชนดู แล้วโครงสร้างแบบอื่นไม่มีแล้วหรือได้และยังกล่าวว่า”ไม่ชอบที่มาเรียกว่านักวิชาการอิสระ แต่การมีส่วนร่วมจะทำอย่างไรนั้นต้องมีประชาชนและประชาชนอยู่ครงไหนในโครงสร้างนี้”
นางรอซิดะ ปูซูกล่าวว่า การสัมมนาในครั้งไม่ได้ขึ้นกับพรรคใดๆ คณะผู้จัดมานำเสนอประชาชนได้อะไร นั้น มาฟังข้อคิดเห็นจากประชาชน แต่ก็เป็นแบบฉบับของนักการเมือง นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวว่า หวังว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ จะให้พี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นร่าง พรบ.ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่จะมาบริหารด้วย ถ้ามาจากที่อื่น มีวัฒนธรรม ประเพณี วิธีคิดแบบเดิมๆ จนเกินไป แม้จะร่างดีแค่ไหนก็คงจะไม่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
จากนั้นมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้กล่าวถึงความพร้อมของประชาชนในการเป็นรัฐอิสระ อยู่รัฐบาลไม่ใช่ประชาชน การปกครองในพื้นที่ไม่ได้ปฎิบัติรัฐธรรมนูญ ใช้แต่กฏอัยการศึก ความขัดแย้งของประเทศเรื่องเสื้อคนละสี่ พรบ.นี้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ชาวบ้านอยู่ที่ไหนในโครงสร้างการมีส่วนร่วมการบริหาร การกล่าวหาแบ่งแยกดินแดนเป็นเครื่องมือทำมาหากินของหน่วยบางหน่วย ผู้นำมุสลิมเองไม่ได้พูดอะไรถึงการแก้ไขปัญหาเพราะมั่วแต่ขึ้นเครื่องบินฟรี มีความภาคภูมิใจกับเงินเดือนเป็นแสน ในโครงสร้างมะแอ สามะ ดอเลาะอยู่ตรงไหน มีแต่พลพรรคราชการทั้งนั้น ซึ่งคนเหล่านี้การทำงานจะสนองรัฐบาลกลางมาก่อนเพื่อต่ำแหน่งตนเอง ไม่มีอุดมการณ์ณ์ใดๆเพื่อจะพัฒนาพื้นท้องถิ่นให้เจริญ เพราะไม่ใช่พื้นที่ของตนเอง
จะเห็นว่าโครงสร้างของศอ.บตนั้น จะมีการพัฒนาฐานทางการเมืองของพรรคที่ปกครองประเทศมากกว่าการนำเสนอการแก้ปัญหาที่ประชาชนต้องการ ประชาชนในพื้นที่ไม่ส่วนบริหารจะเป็นโครงสร้างทีให้มาเสนอฟังข้อคิดเห็นแบบนี้แบบเดี่ยว เป็นโครงที่ทางการผลิคเพื่อยัดเยียดสนองระบบราชการมากกว่า และแสวงหาต่ำแหน่งที่ทางพรรคราชการต้องการมากกว่าทำเพื่อประชาชนตามที่นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ได้กล่าวเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)” ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการรวบอำนาจของฝ่ายการเมือง"เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ เพราะจะได้แบ่งภารกิจให้ ศอ.บต.ทำงานได้ในเชิงพัฒนา และมีการบูรณาการกับฝ่ายมั่นคง ไม่มีการปลดแอกอะไร"นายถาวร กล่าวรมช.มหาดไทย กล่าวว่า การปรับโครงสร้าง ศอ.บต.ครั้งนี้น่าจะทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความพึงพอใจ เพราะเป็นไปตามข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนาและการสอบถามความเห็นจากประชาชน” นับเป็นคำพูดที่ไฟเราะมาก

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนอนุบาลประถมอิสลาม


วิสัยทัศน์(ประถม)
- ภายในปี 2554 โรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา(แผนกประถม)เป็นต้นแบบในการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (อิบตีดาอีย์) มุ่งพัฒนาบุคลากร ให้มีคุณภาพ นักเรียนมีความสามารถทางวิชาการ เทคโนโลยี มีทักษะพื้นฐาน 4 ภาษาและคิดคำนวณ ตามศักยภาพแต่ละบุคคล โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดำรงวิถีชีวิตตามแบบอย่างของอิสลามอย่างมีความสุข